พระอภิธรรม


อภิธัมมปิฎก

ลักษณะการจัดหมวดหมู่ของแต่ละปิฎก

    ได้กล่าวแล้วว่า พระไตรปิฎกนั้น แบ่งออกเป็นวินัยปิฎก   สุตตันตปิฎก   และอภิธัมมปิฎก   โดยลำดับ พระโบราณาจารย์ฝ่ายไทยได้ใช้วิธีย่อหัวข้อสำคัญในแต่ละปิฎก เพื่อจำง่ายเป็นอักษรย่อ ในการใช้อักษรย่อนั้น วินัยปิฎกมี  ๕  คำ  สุตตันตปิฎก   ๕  คำ   อภิมมปิฎก   ๗   คำ  ดังต่อไปนี้....

 

อภิธัมมปิฎก
    หัวข้อย่อแห่งอภิธัมมปิฎกมี  ๗   คือ   สัง,   วิ,   ธา,   ปุ,   ก,  ย,   ป,   ดังต่อไปนี้ :-

    ๑. สัง = สังคณี ว่าด้วยการรวมหมู่ธรรมะ คือธรรมะแม้จะมีมากเท่าไร ก็อาจรวมหรือจัดเป็นประเภท ๆ ได้เพียงไม่เกิน ๓ อย่าง

   ๒. วิ = วิภังค์ ว่าด้วยการแยกธรรมะออกเป็นข้อ ๆ เช่น เป็นขันธ์   ๕ เป็น เป็นต้น ทั้งสังคณีและวิภังค์นี้ เทียบด้วยคำว่าสังเคราะห์ ( Synthesis ) และวิเคราะห์ ( Analysis ) ในวิทยาศาสตร์ เป็นแต่เนื้อหาในทางศาสนากับทางวิทยาศาสตร์ มุ่งไปคนละทาง คงลงกันได้ไนหลักการว่า ควรเรียนรู้ทั้งในทางรวมกลุ่มและแยกกลุ่ม เช่น รถคันหนึ่งควรรู้ทั้งการประกอบเข้าเป็นคันรถ และแยกส่วนต่าง ๆ ออกฉะนั้น

   ๓. ธา = ธาตุถกา ว่าด้วยธาตุ คือธรรมะทุกอย่าง อาจจัดเป็นประเภทได้โดย ธาตุ อย่างไร

   ๔. ปุ = ปุคคลบัญญัติ ว่าด้วยบัญญัติ ๖ ประการ เช่น บัญญัติขันธ์ บัญญัติอายตนะ จนถึงบัญญัติเรื่องบุคคล พร้อมทั้งแจกรายละเอียดเรื่องบัญญัติบุคคลต่าง ๆ ออกไป

   ๕. ก = กถาวัตถุ ว่าด้วยคำถาม คำตอบ หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา (เพราะอรรถกถาจารย์กล่าวว่า เป็นคำถาม ๕๐๐ คำตอบ ๕๐๐ แต่ตัวเลข ๕๐๐ นี้ อาจหมายเพียงว่าหลายร้อย เพราะเท่าที่นับกันดูแล้ว ได้คำถาม คำตอบ อย่างละ ๒๑๙ ช้อ)

   ๖. ย = ยมก ว่าด้วยธรรมเป็นคู่ ๆ บางทีจัดคู่ก็มีลักษณะเป็นตรรกวิทยา ซึ่งจะได้กล่าวถึงใน ๓ ภาค ย่อความแห่งพระไตรปิฎก

    ๗. ป = ปัฏฐาน ว่าด้วยปัจจัย คือสนับสนุน ๒๔ ประการ

   เป็นอันว่า หัวใจย่อแห่งพระไตรปิฎก คือ อา ปา ม จุ ป ; ที ม สัง อัง ขุ ; สัง วิ ธา ปุ ก ย ป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น